วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาชีพที่สนใจ

อาชีพที่สนใจ
      มัณฑนากร
นิยามอาชีพ   
    ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและตกแต่งภายใน อาคารสำนักงาน อาคารอยู่อาศัย และบ้านเรือน ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า     มัณฑนากรเป็นผู้ออกแบบการตกแต่งภายในสถานที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน ต้องทำงานตามขั้นตอน และกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับผู้ว่าจ้าง
  1.  บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้สร้างสรรค์ ที่สุดและเป็นที่สะดุดตา ประทับใจ และได้รสนิยมตรงตามความต้องการของลูกค้า
  2.  ศึกษาโครงสร้างของงาน จัดดำเนินการออกแบบตกแต่ง คำนวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ ตกแต่งที่มีคุณภาพเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า และให้ตรง เป้าหมายและประโยชน์ใช้สอย
  3.  ส่งแบบที่วาดและเสนองบประมาณให้ลูกค้าพิจารณา
  4.  เมื่อผ่านการแก้ไขดัดแปลงแบบให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ หรือช่างเชื่อมเหล็กให้ทำงานตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้
  5.  ปฏิบัติงาน และประสานงานกับระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6.  ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ช่างเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา

  1.  บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้สร้างสรรค์ ที่สุดและเป็นที่สะดุดตา ประทับใจ และได้รสนิยมตรงตามความต้องการของลูกค้า 
  2.  ศึกษาโครงสร้างของงาน จัดดำเนินการออกแบบตกแต่ง คำนวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ ตกแต่งที่มีคุณภาพเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า และให้ตรง เป้าหมายและประโยชน์ใช้สอย 
  3.  ส่งแบบที่วาดและเสนองบประมาณให้ลูกค้าพิจารณา 
  4.  เมื่อผ่านการแก้ไขดัดแปลงแบบให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ หรือช่างเชื่อมเหล็กให้ทำงานตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้ 
  5.  ปฏิบัติงาน และประสานงานกับระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  6.  ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ช่างเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา 
    





           มัณฑนากรที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ถ้าทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนขั้นต้นอยู่ระหว่าง15,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงาน ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และได้รับสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ     การปฏิบัติงานการออกแบบ ส่วนมากต้องทำงานทั้งในและนอกสำนักงาน เช่นในอาคาร ในสถานที่กำลังตกแต่ง อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยในการออกแบบ 
  1.  มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาตกแต่งภายใน
  2.  มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงานที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ
  3.  มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ และประโยชน์ ใช้สอยสูงสุด
  4.  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ
  5.  มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริการทางธุรกิจ
  6.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี และมีความสามารถในการประสานงาน
  7.  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา
  8.  รู้แหล่งข้อมูลเพื่อซื้อหาวัตถุดิบ
  9.  ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือนให้ถูกหลักและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และ เพื่อความปลอดภัย ประหยัดเหมาะสมกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 
  2.  มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงานที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ 
  3.  มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ และประโยชน์ ใช้สอยสูงสุด 
  4.  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ 
  5.  มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริการทางธุรกิจ 
  6.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี และมีความสามารถในการประสานงาน 
  7.  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
  8.  รู้แหล่งข้อมูลเพื่อซื้อหาวัตถุดิบ 

  9.  ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือนให้ถูกหลักและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และ เพื่อความปลอดภัย ประหยัดเหมาะสมกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 
    สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้อุตสาหกรรม วงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมากในการจัดหาเงิน มาดำเนินการลงทุนทางด้านก่อสร้าง ทำให้อาชีพนี้สะดุดไประยะหนึ่ง แต่ผู้ประกอบอาชีพนี้พยามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส คือใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เปลี่ยนไปออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ของเล่น อุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ     ในภาครัฐบาลผู้ที่ปฏิบัติในหน้าที่นี้จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ ถ้าพยายามปรับพัฒนาฝีมือและสร้างสรรค์ผลงาน ตำแหน่งอาจเลื่อนถึงผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ ประกอบอาชีพส่วนตัวในการออกแบบทำสินค้าพรีเมี่ยม สินค้าที่ระลึก     นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ นักออกแบบกราฟิก ครู - อาจารย์ ในคณะสถาปัตยกรรมของสถาบันการศึกษาต่างๆ 
ลักษณะของงานที่ทำ   
สภาพการจ้างงาน   
สภาพการทำงาน   
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ  ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เมื่อสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า(สายวิทย์) สอบคัดเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย อาจไม่เหมือนกัน 
โอกาสในการมีงานทำ   
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ   
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง   






profile



Profile
ชื่อ:ด.ญ.ฟาริดา พงษ์สมสักดิ์
ชั้น: ม.3/10 เลขที่ 38
ชื่อเล่น:เเป้ง
วันเกิด: วันอาทิตย์ทีี่8 ตุลาคม พ.ศ.2543
อายุ: 15 ปี
สีที่ชอบ:สีฟ้า
กรุ๊ปเลือด: A

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กีฬายูโด(JUDO)

ความเป็นมาของกีฬายูโด
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปฏิวัติวัฒนธรรมในยุคเมจิ ทำให้วิชายิวยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ชาวญี่ปุ่นชื่อ คะโน จิโงะโร ชาวเมืองชิโรโกะซึ่งได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 ขณะเมื่ออายุ 18 ปี ได้เข้าทำการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านคะโน จิโงะโร เป็นมีความเห็นว่าวิชายิวยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง
เมื่อท่านคะโน จิโงะโรได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายิวยิตสูอย่างละเอียดแล้วก็พบว่าผู้ฝึกวิชายิวยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับคนที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายิวยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายิวยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเท็นจิ ชินโย และโรงเรียนคิโตะ ในปี พ.ศ. 2425 ท่านคะโน จิโงะโร อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดเอโชะจิ โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า "โคโดกัง ยูโด" โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยิวยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายิวยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
ในยุคแรก ท่านคะโน จิโงะโร ต้องต่อสู้กับบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดดีกว่ายิวยิตสู จนในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยิวยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนถึงปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้ในที่สุดก็เป็นศูนย์กลางของนักยูโดของโลกในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ และได้มีการตั้ง The Kodokun Cultural Society ในปี พ.ศ. 2465 ขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโคโดกัง และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน


การกำหนดระดับของนักยูโดในประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้
  1. รองสายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีขาว
  2. รองสายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีเขียว
  3. รองสายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีฟ้า
  4. รองสายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีน้ำตาล
  5. รองสายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีน้ำตาลปลายดำ
  6. สายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีดำ
  7. สายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีดำ
  8. สายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีดำ
  9. สายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีดำ
  10. สายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีดำ
  11. สายดำ ชั้น 6 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
  12. สายดำ ชั้น 7 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
  13. สายดำ ชั้น 8 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง หรือ สีดำ
  14. สายดำ ชั้น 9 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ
  15. สายดำ ชั้น 10 สายคาดเอวสีแดง หรือ สีดำ
เครื่องเเต่งกาย
          เครื่องแต่งกายในการฝึกยูโดต้องสวมชุดโดยเฉพาะที่เรียกว่า Judoji ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการแต่งกาย          ของชาว  ญี่ปุ่นมีลักษณะดังนี้
  1. เสื้อ คล้ายเสื้อกิโมโน ถักด้วยด้ายดิบสีขาวหนาแข็งแรงทนทาน แต่อ่อนนิ่มไม่ลื่นมือ สามารถซักได้และใช้ได้นาน ส่วนแขนและลำตัวกว้างหลวม ตัวยาวคลุมก้น แขนยาวประมาณครึ่งแขนท่อนล่างเสื้อยูโดที่ดีต้องมีลักษณะเบาบางแต่แข็งแรง การเบาบางจะช่วยให้การระบายความร้อนในร่างกายดีขึ้น ประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อยูโดที่ดีที่สุดในโลก
  2. กางเกง มีลักษณะคล้ายกางเกงจีนเป็นผ้าดิบเช่นกัน ที่เอวมีร้อยเชือกรัดเอว กางเกงต้องหลวมพอสบายยาวประมาณครึ่งขาท่อนล่าง
  3. สายคาดเอว เป็นผ้าเย็บซ้อนกันหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวให้คาดเอวได้ 2 รอบ เหลือชายไว้ผูกเงื่อนพิรอด (Reef Knot) แล้วเหลือชายข้างละ 15 เซนติเมตร สำหรับสายคาดเอวนี้เป็นเครื่องแสดงระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดด้วย




มารยาทนักยูโด
วิชายูโดเป็นวิชาแห่งความสุภาพอ่อนโยน และห้องฝึกยูโดนั้นเป็นที่รวมของผู้ที่สนใจต่อความสุภาพ นอกจากนั้นห้องฝึกยูโดยังเป็นที่สำรวมร่างกายและจิตใจ ผู้ที่เข้าไปในห้องฝึกยูโดจึงควรสำรวมกิริยาวาจาให้สุภาพและเหมาะแก่สถานที่ เช่น ไม่พูดเสียงดังเกินไป ไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ตลกคะนอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่สวมรองเท้าขึ้นไปบนเบาะยูโด เป็นต้น ระหว่างการฝึกซ้อม หรือฟังคำบรรยายจากครูอาจารย์ควรฟังด้วยความเคารพ นอกจากนั้นควรเคารพเชื่อฟังคำแนะนำของครูอาจารย์ และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของห้องฝึกที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม กับทั้งเป็นการอบรมนิสัย มารยาทและจิตใจของตนเองด้วย